วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ประกาศเปิดประชาคมอาเซียน 31 ธ.ค. 58 อย่างเป็นทางการ




         สมาคมอาเซียนได้ประชุมเลื่อนเลื่อนเปิด ACE อย่างเป็นทางการ เป็นวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ด้วยเหตุข้อตกลงหลาย ๆ อย่างยังไม่สามารถตกลงกันได้

           ได้มีรายงานว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมานั้น ทางผู้นำชาติอาเซียน ได้ตัดสินใจประกาศเลื่อนกำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) จากเดิมคือวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นเปิดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

          สำหรับสาเหตุที่ต้องเลื่อนเปิด ACE ออกไปนั้น เป็นเพราะข้อตกลงและขั้นตอนต่าง ๆ อีกหลายขั้นตอน ที่สามารถตกลงกันได้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการตรวจลงตรา ภาษีอาการสินค้า กฎระเบียบว่าด้วยการลงทุนระหว่างกัน เป็นต้น แม้ว่าการดำเนินการของประเทศต่าง ๆ ตามพิมพ์เขียว จะคืบหน้าไปพอสมควรแล้วก็ตาม

          นอกจากนี้ ผู้นำของบางประเทศ ก็ยังมีความกังวลอยู่ว่า หากเปิดเออีซี อาจจะทำให้ประเทศได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเรื่องของปัญหาต่าง ๆ ที่มีลักษณะการข้ามชาติ (transnational problem) รวมทั้งอีกหลายเรื่องที่ต้องจัดการให้แล้วเสร็จก่อนเปิด ACE ฉะนั้นผู้นำอาเซียนจึงมีความคิดเห็นว่า ควรเลื่อนเปิด  ACE ออกไปก่อนจะดีที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

สกุลเงินอาเซียน และสกุลเงินสมาชิกอาเซียน



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก aseancorner

          ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทย และเพื่อนสมาชิกอีก 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะถือเป็นตลาดเดียวกันเช่นเดียวสหภาพยุโรป เนื่องจากเกิดการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ดังนั้น เราในฐานะประชาชนคนหนึ่งของประคมอาเซียนจึงจำเป็นต้องรู้เรื่องต่าง ๆ ในประเทศสมาชิก ซึ่ง สกุลเงิน ที่ใช้เป็นอีกเรื่องที่เราจำเป็นต้องรู้  

          สำหรับ สกุลเงินที่ใช้กันในหมู่ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ยังไม่มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุลเดียวกันเหมือนกับประชาคมยุโรป เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะและเศรษฐกิจยุโรปที่ เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กรีซและสเปน ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีต้นตอมาจากการใช้สกุลเงินร่วมกัน (สกุลเงินยูโร) นั่นเอง

 ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ ใช้สกุลเงินดังนี้


1. บรูไน ดารุสซาลาม

 ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์บรูไน
 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์บรูไน = 25.10 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 ดอลล่าร์บรูไน, 5 ดอลล่าร์บรูไน, 10 ดอลล่าร์บรูไน, 20 ดอลล่าร์บรูไน, 25 ดอลล่าร์บรูไน, 50 ดอลล่าร์บรูไน, 100 ดอลล่าร์บรูไน, 500 ดอลล่าร์บรูไน, 1,000 ดอลล่าร์บรูไน และ 10,000 ดอลล่าร์บรูไน



2. ราชอาณาจักรกัมพูชา

 ใช้สกุลเงิน เรียล
 อัตราแลกเปลี่ยน 150 เรียล = 1 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 50 เรียล, 100 เรียล, 500 เรียล, 1,000 เรียล, 2,000 เรียล, 5,000 เรียล, 10,000 เรียล, 20,000 เรียล, 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล


3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
 ใช้สกุลเงิน รูเปียห์
 อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 3.95 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์


4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 ใช้สกุลเงิน กีบ
 อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ



5. มาเลเซีย

 ใช้สกุลเงิน ริงกิต
 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตมาเลเซีย = 10.40 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต



6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า


 ใช้สกุลเงิน จ๊าด
 อัตราแลกเปลี่ยน 1 จ๊าด = 5 บาทไทย
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 10 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด, 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด



7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

 ใช้สกุลเงิน เปโซ
 อัตราแลกเปลี่ยน 1.40 เปโซ = 0.78 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 20 เปโซ, 50 เปโซ, 100 เปโซ, 200 เปโซ, 500 เปโซ และ 1,000 เปโซ



8. สาธารณรัฐสิงคโปร์

 ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สิงค์โปร์
 อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์ = 24.40 บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 2 ดอลล่าร์สิงค์โปร์, 5 ดอลล่าร์สิงค์โปร์, 10 ดอลล่าร์สิงค์โปร์, 50 ดอลล่าร์สิงค์โปร์, 100 ดอลล่าร์สิงค์โปร์, 1,000 ดอลล่าร์สิงค์โปร์ และ 10,000 ดอลล่าร์สิงค์โปร์



9. ราชอาณาจักรไทย

 ใช้สกุลเงิน บาท
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท และ 1,000 บาท



10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 ใช้สกุลเงิน ด่ง
 อัตราแลกเปลี่ยน 900 ด่ง = 1.64 บาทไทย
 ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 100 ด่ง, 200 ด่ง, 500 ด่ง, 1,000 ด่ง, 2,000 ด่ง, 5,000 ด่ง, 10,000 ด่ง, 20,000 ด่ง, 50,000 ด่ง, 100,000 ด่ง, 200,000 ด่ง และ 500,000 ด่ง

          หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน




อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
dtn.go.th