วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์น่ารู้...กัมพูชาสมัยใหม่



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

        กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนติดต่อกันหลายด้าน ไม่เพียงเท่านั้น ในอดีตไทยและกัมพูชาต่างดำเนินความสัมพันธ์กันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่า ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างของทั้งสองชาติยังคงมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่บ้าง 

        ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความรู้จักกับประเทศกัมพูชาให้มากขึ้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกัมพูชาในยุคสมัยใหม่มาฝากกันด้วยค่า

        สำหรับประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยใหม่เริ่มต้นเมื่อได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงเจนีวาระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2497 สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งผลกระทบของสงครามเย็น ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชาในช่วงปี พ.ศ. 2508 ตกต่ำเสื่อมโทรมถึงขีดสุด เกิดความวุ่นวายทางการเมือง จนทำให้นักศึกษา และประชาชนออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาล 

        ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 ชาวบ้านและชาวนาในอำเภอซัมลูด จังหวัดพระตะบอง ได้ก่อการจลาจล รัฐบาลจึงส่งทหารเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนซึ่งถูกรวมเรียกเป็น ฝ่ายซ้าย หลบหนีเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ป่าเขา

        ต่อมาเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 นายพลลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ได้ทำการรัฐประหาร เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดี แล้วก่อตั้งเป็น "สาธารณรัฐกัมพูชา" ก่อนกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือเขมรแดง (Khmer Rouge) ซึ่งมีเวียดกงเป็นพันธมิตร เข้ายึดอำนาจปกครองกัมพูชาได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 จากนั้นมากัมพูชาอยู่ภายใต้อำนาจของนายพอล พต ผู้นำกลุ่มเขมรแดง


 ยุคเขมรแดง

        กัมพูชาในกำมือนายพอล พต ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2522 ตกอยู่ในความรุนแรงสุดขั้วเพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกประเทศ และไม่ยอมเป็นพันธมิตรกับชาติใด ๆ โดดเดี่ยวประเทศออกจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ยกเลิกระบบธนาคาร ระบบเงินตรา ยึดทรัพย์สินจากเอกชนทั้งหมด 

        นายพอล พต เป็นคนที่คลั่งลัทธิซ้ายสุด ๆ เขาเชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้ ดังนั้นเขาจึงมีแนวคิดว่า ประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ต้องเพิ่งวิทยาการเทคโนโลยีใด ๆ ขอให้มีข้าวกินก็อยู่ได้ เขาจึงกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษาปัญญาชน แพทย์ วิศวกร นักปราชญ์ ศิลปิน ว่ากันว่าคนใส่แว่นสายตาที่ดูเหมือนมีความรู้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ปกครองยาก จะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล

        นายพอล พต ต้องการให้กัมพูชามีแต่ชนชั้นกรรมาชีพ จึงได้หลอกล่อประชาชนพลเมืองออกจากเมืองไปยังชนบทกันดาร ใช้แรงงานเพื่อการเกษตรอยู่ในค่ายแรงงาน ซึ่งประชาชนทุกคนมีสภาพชีวิตที่ลำบาก ต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก รวมทั้งไม่มีอาหารที่เพียงพอ ซึ่งในเวลากว่า 4 ปีที่ พอล พต อยู่ในอำนาจ มีผู้คนล้มตาย อดอยาก ถูกทารุณกรรม ถูกฆ่าอย่างมหาศาล

        นอกจากนี้ เขมรแดงต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศที่มีแต่คนเชื้อสายเดียว คือเชื้อสายกัมพูชาเท่านั้น จึงเกิด "ทุ่งสังหาร" เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งชาวเวียดนาม ชาวจีน รวมถึงคนเขมรด้วยกันเอง ซึ่งมีการประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 1.5-2 ล้านคน นับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดของศตวรรษที่ 20



 ช่วงที่เวียดนามเข้ามามีบทบาทในกัมพูชา พ.ศ. 2522-2532 (ค.ศ. 1979-1989)

        ต่อมากัมพูชามีปัญหาทะเละเรื่องพรมแดนกับประเทศเวียดนาม ทำให้เวียดนามส่งกองทัพบุกยึดกรุงพนมเปญ ใน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เวียดนามส่งกำลังเข้าช่วยเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ (The National United Front for National Salvation) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเฮง สัมริน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเขมรแดง จากนั้น เวียดนามเข้ามาแทรกแซงในกัมพูชา ส่วนพวกเขมรแดงแตกพ่ายมาหลบอยู่ตามตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย

        ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีการจัดตั้งรัฐบาล เฮง สัมริน ซึ่งเป็นหุ่นเชิดให้กับทางเวียดนาม ทำให้ พอล พต ต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงต้องถอยร่นและกระจัดกระจาย ในปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982)  นายพอล พต ร่วมกับเจ้าสีหนุจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาธิปไตย โดยมี นายเขียว สัมพัน ขึ้นเป็นผู้นำในปี พ.ศ. 2528 แต่เชื่อกันว่า พอล พต คือผู้กุมอำนาจที่แท้จริง ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลผสมเพื่อต่อต้านเฮง สัมริน ช่วงที่รัฐบาลเฮง สัมรินมีอำนาจนี้ ทำให้ชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ในกัมพูชามากขึ้น จนเกิดกลุ่มต่อต้านเวียดนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

        1) กลุ่มเขมรเสรี ซึ่งมีนายซอนซาน เป็นผู้นำ
        2) กลุ่มที่สนับสนุนและยังจงรักภักดีกับเจ้านโรดม สีหนุ หรือกลุ่มมูลินากา (Moulinaka)

        ทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ร่วมมือกับ กลุ่มเขมรแดง (ของพอล พต) ต่อสู้กับเวียดนามได้ เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมเรียกว่า "รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย" ประกอบด้วย

        1) กลุ่มมูลินากา (Moulinaka) หรือกลุ่มเจ้าสีหนุ เป็นประธานาธิบดี (จากกลุ่มเจ้าสีหนุ)
        2) กลุ่มซอนซาน เป็นนายกรัฐมนตรี (จากกลุ่มเขมรเสรี)
        3) เขียว สัมพัน เป็นรองนายกรัฐมนตรี (จากกลุ่มเขมรแดง)

        ขณะที่รัฐบาลที่เมืองหลวงกรุงพนมเปญ ในขณะนั้น เรียกว่า "รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา" เป็นรัฐบาลของนายเฮง สัมริน ซึ่งมีนายฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี

        รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย (กลุ่มเจ้าสีหนุ + เขมรเสรี + เขมรแดง) กับ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา (เฮง สัมริน ซึ่งมีเวียดนามหนุนอยู่)

        ไทยและจีนได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของทั้ง 3 ฝ่าย เนื่องจากเกรงว่าเวียดนามจะมามีอำนาจในกัมพูชามากเกินไป นอกจากนี้รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยเองก็ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ (UN) และสนับสนุนให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา โดยฝ่ายเจ้านโรดม สีหนุ ก็ใช้วิธีการทางการทูตในการขอการสนับสนุนจากนานาชาติในการกดดันให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา รวมทั้งใช้กำลังทหารเข้าขับไล่

        จนกระทั่งต่อมา พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) อำนาจได้ตกไปอยู่ที่ นายฮุน เซน (สมเด็จฮุน เซน) และใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เวียดนามยอมถอนทหารออกจากกัมพูชา


 ช่วงที่เกิดเขมร 4 ฝ่าย ในกัมพูชา

        ในปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) ช่วงนี้เราเรียกว่าเป็นช่วงที่เกิดกลุ่มเขมร 4 ฝ่าย ได้แก่

        1. เขมรแดงโดย นายเขียว สัมพัน
        2. เขมรเสรีโดย นายซอนซาน
        3. เขมรเฮง สัมริน (รัฐบาลพนมเปญ) โดย นายฮุน เซน
        4. กลุ่มเจ้าสีหนุ โดย เจ้ารณฤทธิ์

        ซึ่งต่อมามีการประชุมเพื่อหาแนวทางสันติภาพของทุกฝ่ายภายใต้การควบคุมของ UNTAC (United Nations Transitional Authority in Cambodia) ในประเด็นการจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา (Supreme National Council : SNC), จัดตั้งการเลือกตั้งเพื่อรัฐบาลชุดใหม่ และการเจรจาให้ทุกฝ่ายปลดอาวุธ แต่ก็เกิดความขัดแย้งกันเอง

        ผลของการประชุมเพื่อหาแนวทางสันติภาพปรากฏว่า ฝ่ายของนายฮุน เซนไม่พอใจ เพราะไม่ต้องการกลุ่มเขมรแดง แต่อยากจะกำจัด และไม่ต้องการให้เลือกตั้งมาเป็นรัฐบาล ขณะที่นายเขียว สัมพัน แกนนำกลุ่มเขมรแดงไม่ยอมรับสนธิสัญญา เพราะไม่อยากปลดอาวุธ(เพราะยังมีทหารเวียดนามอยู่มาก) รวมทั้งไม่เชื่อใจ UNTAC เพราะสหรัฐอเมริกาไม่ชอบกลุ่มเขมรแดง  แม้ว่ากองกำลังเขมรแดงเข้มแข็งมากที่สุด แต่มีพื้นที่ที่ยึดครองน้อย หากไม่มีอาวุธก็จะเสียเปรียบ นอกจากนี้ยังไม่ยอมรับการเลือกตั้งเพราะฝ่ายตนเป็นรองอยู่มาก แต่อ้างว่าการเมืองกัมพูชาไม่เสรีจริง ไม่ยุติธรรม และอำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่รัฐบาลฮุน เซน ไม่ใช่ UNTAC

        ผลสุดท้ายฝ่ายเขมรแดงไม่ยอมลงเลือกตั้งตามสนธิสัญญา เท่ากับเป็นการไม่ยอมรับการร่วมสร้างความเป็นหนึ่งในเขมร (ตั้งแต่นั้นมาคือเขมรแดงกลายเป็นพวกนอกกฎหมาย ภายหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้น)

        ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในประเทศเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยการควบคุมของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งพรรคที่ลงสมัคร ได้แก่


        1. พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP : Cambodian people’s party) นำโดยนายฮุน เซน
        2. พรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) นำโดยเจ้านโรดม รณฤทธิ์
        3. พรรคพุทธเสรีประชาธิปไตย นำโดย ซอนซาน ผู้นำเขมรเสรี
        4. พรรคเอกภาพแห่งกัมพูชา นำโดยเขียว สัมพัน ผู้นำเขมรแดง (ไม่ได้ลงเลือกตั้ง)

        นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กัมพูชามีกษัตริย์เป็นประมุข เจ้านโรดมสีหนุ จึงได้เป็นประมุข

        และผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายฮุน เซนไม่พอใจเป็นอย่างมากและคิดจะแบ่งแยกดินแดน ภายหลังเจ้าสีหนุประนีประนอมให้มีนายกรัฐมนตรี 2 คนได้ คือให้ เจ้ารณฤทธิ์เป็นนายกคนที่ 1 มีอำนาจมากกว่าตามฐานคะแนนเสียง ส่วนนายฮุน เซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2

        ต่อมาไม่นานก็เกิดความขัดแย้งขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว จึงเกิดการสู้รบกัน สุดท้ายนายกรัฐมนตรี 2 คนก็หมดวาระลง ส่วนกลุ่มเขมรแดงก็เลยเป็นกลุ่มนอกกฎหมายที่สูญเสียอิทธิพลไปในที่สุด

        และในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) มีการกำหนดให้มีรัฐมนตรีได้คนเดียว ซึ่งจากการเลือกตั้งอีกรอบผลปรากฏว่า นายฮุน เซน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว และครองอำนาจทางการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนเจ้านโรดม รณฤทธิ์ หัวหน้าพรรคฟุนซินเปคก็ลดบทบาททางการเมืองลง จนสุดท้ายก็ถูกสมาชิกพรรคถอดถอนออกจากตำแหน่ง ขณะที่เจ้านโรดม สีหนุ ก็สละราชบัลลังก์ให้ สมเด็จกรมพระนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน



ประวัติศาสตร์น่ารู้...กัมพูชาสมัยใหม่


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

        กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนติดต่อกันหลายด้าน ไม่เพียงเท่านั้น ในอดีตไทยและกัมพูชาต่างดำเนินความสัมพันธ์กันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่า ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างของทั้งสองชาติยังคงมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่บ้าง 

        ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความรู้จักกับประเทศกัมพูชาให้มากขึ้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกัมพูชาในยุคสมัยใหม่มาฝากกันด้วยค่า

        สำหรับประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยใหม่เริ่มต้นเมื่อได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงเจนีวาระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2497 สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งผลกระทบของสงครามเย็น ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชาในช่วงปี พ.ศ. 2508 ตกต่ำเสื่อมโทรมถึงขีดสุด เกิดความวุ่นวายทางการเมือง จนทำให้นักศึกษา และประชาชนออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาล 

        ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 ชาวบ้านและชาวนาในอำเภอซัมลูด จังหวัดพระตะบอง ได้ก่อการจลาจล รัฐบาลจึงส่งทหารเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนซึ่งถูกรวมเรียกเป็น ฝ่ายซ้าย หลบหนีเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ป่าเขา

        ต่อมาเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 นายพลลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ได้ทำการรัฐประหาร เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดี แล้วก่อตั้งเป็น "สาธารณรัฐกัมพูชา" ก่อนกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือเขมรแดง (Khmer Rouge) ซึ่งมีเวียดกงเป็นพันธมิตร เข้ายึดอำนาจปกครองกัมพูชาได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 จากนั้นมากัมพูชาอยู่ภายใต้อำนาจของนายพอล พต ผู้นำกลุ่มเขมรแดง


 ยุคเขมรแดง

        กัมพูชาในกำมือนายพอล พต ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2522 ตกอยู่ในความรุนแรงสุดขั้วเพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกประเทศ และไม่ยอมเป็นพันธมิตรกับชาติใด ๆ โดดเดี่ยวประเทศออกจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ยกเลิกระบบธนาคาร ระบบเงินตรา ยึดทรัพย์สินจากเอกชนทั้งหมด 

        นายพอล พต เป็นคนที่คลั่งลัทธิซ้ายสุด ๆ เขาเชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้ ดังนั้นเขาจึงมีแนวคิดว่า ประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ต้องเพิ่งวิทยาการเทคโนโลยีใด ๆ ขอให้มีข้าวกินก็อยู่ได้ เขาจึงกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษาปัญญาชน แพทย์ วิศวกร นักปราชญ์ ศิลปิน ว่ากันว่าคนใส่แว่นสายตาที่ดูเหมือนมีความรู้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ปกครองยาก จะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล

        นายพอล พต ต้องการให้กัมพูชามีแต่ชนชั้นกรรมาชีพ จึงได้หลอกล่อประชาชนพลเมืองออกจากเมืองไปยังชนบทกันดาร ใช้แรงงานเพื่อการเกษตรอยู่ในค่ายแรงงาน ซึ่งประชาชนทุกคนมีสภาพชีวิตที่ลำบาก ต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก รวมทั้งไม่มีอาหารที่เพียงพอ ซึ่งในเวลากว่า 4 ปีที่ พอล พต อยู่ในอำนาจ มีผู้คนล้มตาย อดอยาก ถูกทารุณกรรม ถูกฆ่าอย่างมหาศาล

        นอกจากนี้ เขมรแดงต้องการให้กัมพูชาเป็นประเทศที่มีแต่คนเชื้อสายเดียว คือเชื้อสายกัมพูชาเท่านั้น จึงเกิด "ทุ่งสังหาร" เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งชาวเวียดนาม ชาวจีน รวมถึงคนเขมรด้วยกันเอง ซึ่งมีการประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 1.5-2 ล้านคน นับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดของศตวรรษที่ 20



 ช่วงที่เวียดนามเข้ามามีบทบาทในกัมพูชา พ.ศ. 2522-2532 (ค.ศ. 1979-1989)

        ต่อมากัมพูชามีปัญหาทะเละเรื่องพรมแดนกับประเทศเวียดนาม ทำให้เวียดนามส่งกองทัพบุกยึดกรุงพนมเปญ ใน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เวียดนามส่งกำลังเข้าช่วยเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ (The National United Front for National Salvation) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเฮง สัมริน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเขมรแดง จากนั้น เวียดนามเข้ามาแทรกแซงในกัมพูชา ส่วนพวกเขมรแดงแตกพ่ายมาหลบอยู่ตามตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย

        ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีการจัดตั้งรัฐบาล เฮง สัมริน ซึ่งเป็นหุ่นเชิดให้กับทางเวียดนาม ทำให้ พอล พต ต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงต้องถอยร่นและกระจัดกระจาย ในปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982)  นายพอล พต ร่วมกับเจ้าสีหนุจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาธิปไตย โดยมี นายเขียว สัมพัน ขึ้นเป็นผู้นำในปี พ.ศ. 2528 แต่เชื่อกันว่า พอล พต คือผู้กุมอำนาจที่แท้จริง ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลผสมเพื่อต่อต้านเฮง สัมริน ช่วงที่รัฐบาลเฮง สัมรินมีอำนาจนี้ ทำให้ชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ในกัมพูชามากขึ้น จนเกิดกลุ่มต่อต้านเวียดนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

        1) กลุ่มเขมรเสรี ซึ่งมีนายซอนซาน เป็นผู้นำ
        2) กลุ่มที่สนับสนุนและยังจงรักภักดีกับเจ้านโรดม สีหนุ หรือกลุ่มมูลินากา (Moulinaka)

        ทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ร่วมมือกับ กลุ่มเขมรแดง (ของพอล พต) ต่อสู้กับเวียดนามได้ เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมเรียกว่า "รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย" ประกอบด้วย

        1) กลุ่มมูลินากา (Moulinaka) หรือกลุ่มเจ้าสีหนุ เป็นประธานาธิบดี (จากกลุ่มเจ้าสีหนุ)
        2) กลุ่มซอนซาน เป็นนายกรัฐมนตรี (จากกลุ่มเขมรเสรี)
        3) เขียว สัมพัน เป็นรองนายกรัฐมนตรี (จากกลุ่มเขมรแดง)

        ขณะที่รัฐบาลที่เมืองหลวงกรุงพนมเปญ ในขณะนั้น เรียกว่า "รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา" เป็นรัฐบาลของนายเฮง สัมริน ซึ่งมีนายฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี

        รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย (กลุ่มเจ้าสีหนุ + เขมรเสรี + เขมรแดง) กับ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา (เฮง สัมริน ซึ่งมีเวียดนามหนุนอยู่)

        ไทยและจีนได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของทั้ง 3 ฝ่าย เนื่องจากเกรงว่าเวียดนามจะมามีอำนาจในกัมพูชามากเกินไป นอกจากนี้รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยเองก็ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ (UN) และสนับสนุนให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา โดยฝ่ายเจ้านโรดม สีหนุ ก็ใช้วิธีการทางการทูตในการขอการสนับสนุนจากนานาชาติในการกดดันให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา รวมทั้งใช้กำลังทหารเข้าขับไล่

        จนกระทั่งต่อมา พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) อำนาจได้ตกไปอยู่ที่ นายฮุน เซน (สมเด็จฮุน เซน) และใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เวียดนามยอมถอนทหารออกจากกัมพูชา


 ช่วงที่เกิดเขมร 4 ฝ่าย ในกัมพูชา

        ในปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) ช่วงนี้เราเรียกว่าเป็นช่วงที่เกิดกลุ่มเขมร 4 ฝ่าย ได้แก่

        1. เขมรแดงโดย นายเขียว สัมพัน
        2. เขมรเสรีโดย นายซอนซาน
        3. เขมรเฮง สัมริน (รัฐบาลพนมเปญ) โดย นายฮุน เซน
        4. กลุ่มเจ้าสีหนุ โดย เจ้ารณฤทธิ์

        ซึ่งต่อมามีการประชุมเพื่อหาแนวทางสันติภาพของทุกฝ่ายภายใต้การควบคุมของ UNTAC (United Nations Transitional Authority in Cambodia) ในประเด็นการจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา (Supreme National Council : SNC), จัดตั้งการเลือกตั้งเพื่อรัฐบาลชุดใหม่ และการเจรจาให้ทุกฝ่ายปลดอาวุธ แต่ก็เกิดความขัดแย้งกันเอง

        ผลของการประชุมเพื่อหาแนวทางสันติภาพปรากฏว่า ฝ่ายของนายฮุน เซนไม่พอใจ เพราะไม่ต้องการกลุ่มเขมรแดง แต่อยากจะกำจัด และไม่ต้องการให้เลือกตั้งมาเป็นรัฐบาล ขณะที่นายเขียว สัมพัน แกนนำกลุ่มเขมรแดงไม่ยอมรับสนธิสัญญา เพราะไม่อยากปลดอาวุธ(เพราะยังมีทหารเวียดนามอยู่มาก) รวมทั้งไม่เชื่อใจ UNTAC เพราะสหรัฐอเมริกาไม่ชอบกลุ่มเขมรแดง  แม้ว่ากองกำลังเขมรแดงเข้มแข็งมากที่สุด แต่มีพื้นที่ที่ยึดครองน้อย หากไม่มีอาวุธก็จะเสียเปรียบ นอกจากนี้ยังไม่ยอมรับการเลือกตั้งเพราะฝ่ายตนเป็นรองอยู่มาก แต่อ้างว่าการเมืองกัมพูชาไม่เสรีจริง ไม่ยุติธรรม และอำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่รัฐบาลฮุน เซน ไม่ใช่ UNTAC

        ผลสุดท้ายฝ่ายเขมรแดงไม่ยอมลงเลือกตั้งตามสนธิสัญญา เท่ากับเป็นการไม่ยอมรับการร่วมสร้างความเป็นหนึ่งในเขมร (ตั้งแต่นั้นมาคือเขมรแดงกลายเป็นพวกนอกกฎหมาย ภายหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้น)

        ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในประเทศเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยการควบคุมของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งพรรคที่ลงสมัคร ได้แก่


        1. พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP : Cambodian people’s party) นำโดยนายฮุน เซน
        2. พรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) นำโดยเจ้านโรดม รณฤทธิ์
        3. พรรคพุทธเสรีประชาธิปไตย นำโดย ซอนซาน ผู้นำเขมรเสรี
        4. พรรคเอกภาพแห่งกัมพูชา นำโดยเขียว สัมพัน ผู้นำเขมรแดง (ไม่ได้ลงเลือกตั้ง)

        นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กัมพูชามีกษัตริย์เป็นประมุข เจ้านโรดมสีหนุ จึงได้เป็นประมุข

        และผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายฮุน เซนไม่พอใจเป็นอย่างมากและคิดจะแบ่งแยกดินแดน ภายหลังเจ้าสีหนุประนีประนอมให้มีนายกรัฐมนตรี 2 คนได้ คือให้ เจ้ารณฤทธิ์เป็นนายกคนที่ 1 มีอำนาจมากกว่าตามฐานคะแนนเสียง ส่วนนายฮุน เซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2

        ต่อมาไม่นานก็เกิดความขัดแย้งขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว จึงเกิดการสู้รบกัน สุดท้ายนายกรัฐมนตรี 2 คนก็หมดวาระลง ส่วนกลุ่มเขมรแดงก็เลยเป็นกลุ่มนอกกฎหมายที่สูญเสียอิทธิพลไปในที่สุด

        และในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) มีการกำหนดให้มีรัฐมนตรีได้คนเดียว ซึ่งจากการเลือกตั้งอีกรอบผลปรากฏว่า นายฮุน เซน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว และครองอำนาจทางการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนเจ้านโรดม รณฤทธิ์ หัวหน้าพรรคฟุนซินเปคก็ลดบทบาททางการเมืองลง จนสุดท้ายก็ถูกสมาชิกพรรคถอดถอนออกจากตำแหน่ง ขณะที่เจ้านโรดม สีหนุ ก็สละราชบัลลังก์ให้ สมเด็จกรมพระนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน



มาทำความรู้จักเลขาธิการอาเซียน

มาทำความรู้จักเลขาธิการอาเซียน
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก asean.org

          นับตั้งแต่ถือกำเนิดอาเซียนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2510 อาเซียนมีเลขาธิการอาเซียนมาแล้วถึง 12 คน

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนแรก

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย

เลขาธิการอาเซียน

H.R. Darsono
7 มิถุนายน 2519 - 18 กุมภาพันธ์ 2521

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่สอง

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย

เลขาธิการอาเซียน

Umarjadi Notowijono
19 กุมภาพันธ์ 2521 - 30 มิถุนายน 2521

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่สาม

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศมาเลเซีย

เลขาธิการอาเซียน

Datuk Ali Bin Abdullah
10 กรกฎาคม 2521 - 30 มิถุนายน 2523

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่สี่

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศฟิลิปปินส์

เลขาธิการอาเซียน

Narciso G. Reyes
1 กรกฎาคม 2523 - 1 กรกฎาคม 2525

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่ห้า


 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศสิงคโปร์

เลขาธิการอาเซียน

Chan Kai Yau
18 กรกฎาคม 2525 - 15 กรกฎาคม 2527

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่หก

 มาจากประเทศไทย

เลขาธิการอาเซียน

Phan Wannamethee (นายแผน วรรณเมธี)
16 กรกฎาคม 2527 - 15 กรกฎาคม 2529

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่เจ็ด


 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกบรูไนดารุสซาลาม

เลขาธิการอาเซียน

Roderick Yong
16 กรกฎาคม 2529 - 16 กรกฎาคม 2532

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่แปด


 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย

เลขาธิการอาเซียน

Rusli Noor
17 กรกฎาคม 2532 - 1 มกราคม 2536

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่เก้า

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกมาเลเซีย

เลขาธิการอาเซียน

Dato Ajit Singh
1 มกราคม 2536 - 31 ธันวาคม 2540

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่สิบ

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกฟิลิปปินส์

เลขาธิการอาเซียน

Rodolfo C. Severino Jr.
1 มกราคม 2541 - 31 ธันวาคม 2545

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่สิบเอ็ด

 มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกสิงคโปร์

เลขาธิการอาเซียน

Ong Keng Yong
1 มกราคม 2546 - 31 ธันวาคม 2550

รู้มั้ยว่า...เลขาธิการอาเซียนคนที่สิบสอง


 มาจากประเทศไทย

เลขาธิการอาเซียน

Dr. Surin Pitsuwan (ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ)
1 มกราคม 2551 - 31 ธันวาคม 2555


ที่มา
หนังสือ HELLO อาเซียน ชุด ประชาคมอาเซียน ฉบับการ์ตูน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC คืออะไร


          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย  พม่า ลาว เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน  เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ  ระดับโลก
          ประชาคมอาเซียน เปรียบกับการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 พร้อมกับมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พร้อมกับมีการแบ่งประชาคมย่อยออกเป็น 3 ประชาคม หรือ 3 เสาหลัก ได้แก่
            ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
            ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC)
            ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC)
          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร หรือ AEC คืออะไร หลายคนอาจจะยังสงสัย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC กันค่ะ

 ความเป็นมาพอสังเขป 

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น เออีซี ในที่สุด โดยจะก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563

          อย่างไรก็ตาม อนาคตข้างหน้า เออีซีมีแนวโน้มขยายเป็น อาเซียน +3 คือ เพิ่ม จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก่อนที่จะเป็น อาเซียน +6 โดยเพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN  Economic  Community : AEC) 
          AEC หรือ ASEAN  Economic  Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี 
          โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน  ASEAN  Summit ครั้งที่  8  เมื่อ  4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2545  ณ  กรุงพนมเปญ  ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน  ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558  ( ค.ศ. 2015)

 เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC  มี  4  ด้าน  คือ                                                                                                                           
          1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  (Single Market and Production Base)   
            เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  ลงทุน  แรงงานฝีมือ  เงินทุน  อย่างเสรี
            ส่วนนี้ จริงๆ เป็นการดำเนินตามพันธกรณีที่ได้ตกลงและดำเนินการมากันอยู่แล้ว ทั้ง
          * AFTA (ASEAN Free Trade Area)  เริ่มปี  2535 (1992)
          * AFAS (ASEAN Framework Agreement on  Services)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามปี  2538  (1995)  ได้เจรจาเปิดเสรีเป็นรอบๆ  เจรจาไปแล้ว  5  รอบ
          * AIA  (ASEAN Investment Area)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ  ลงนามและมีผลตั้งแต่ 2541  (1998)
          2. สร้างขีดความสามามารถทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)
            ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบาย ที่ช่วยการรวมกลุ่ม  เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี , ทรัพย์สินทางปัญญา, พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน
            ร่วมกันดำเนินการโดยแลกเปลี่ยนข้อมูล  ฝึกอบรมบุคคลากรร่วมกัน
          3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)
            สนับสนุนการพัฒนา SMES
            สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการที่มีอยู่แล้ว
          4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Fully  Integrated  into  Global Economy)
            เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับนอกภูมิภาค เช่น  ทำ  FTA

 กรอบความร่วมมือ 

          สำหรับกรอบความร่วมมือ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ สามารถหาข้อสรุปในสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ  ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ดังนี้

          (1) การค้าสินค้า - จะเร่งลดภาษีสินค้าใน Priority Sectors (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอ/ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/สาขาสุขภาพ) เป็น 0% เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%

          (2) การค้าบริการ - จะเร่งเปิดเสรีสาขาบริการใน Priority Sectors (สาขาสุขภาพ, e-ASEAN, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ) ภายในปี ค.ศ. 2010 ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้

          (3) การลงทุน - จะเร่งเปิดการลงทุนในรายการสงวน (Sensitive List) ภายในปี 2010 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ปี ค.ศ. 2013 สำหรับเวียดนามและ 2015 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้ และส่งเสริมการผลิตในอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN free trade zones เพื่อส่งเสริมการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน  (outsourcing) และดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI

          (4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน - ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ คือ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และ logistics service สำหรับการขนส่ง การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และ แรงงานมีฝีมือ

          (5) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 สาขากำหนดมาตรการร่วม ซึ่งคาบเกี่ยวกับทุกสาขาเช่นเดียวกับในกรอบความตกลงฯ และมาตรการเฉพาะสำหรับการรวมกลุ่มแต่ละสาขานั้นๆ โดยรวมอยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (Road map) ซึ่งผนวกอยู่กับพิธีสารฯ

          ขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors)  และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของ อาเซียน 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547

          ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็ว ขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ด้วย


 การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง 

          การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า

 สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้

          1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
          2. สาขาประมง
          3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
          4. สาขาสิ่งทอ
          5. สาขายานยนต์
          6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          9. สาขาสุขภาพ
          10. สาขาท่องเที่ยว
          11. สาขาการบิน

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น

 เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

          1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
          2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
          3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
          6. ไทย สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
          7. เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์


 ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          1. ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  จาการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้า  เคลื่อนย้ายเสรี
          2. คาดว่า  การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18 - 20%  ต่อปี
          3. เปิดโอกาสการค้าบริการ  ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง  เช่น  ท่องเที่ยว  โรงแรมและร้านอาหาร  สุขภาพ  ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
          4. สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น  อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน จะลดลง  อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
          5. เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียน อื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage)  และลดต้นทุนการผลิต
          6. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก  สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก
          7. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ  ผลการศึกษา   แสดงว่า AEC  จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3  หรือคิดเป็นมูลค่า 69  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

 ผลกระทบของประเทศไทยจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          1. การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ
          2. อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศต้องเร่งปรับตัว

 ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          แนวทางที่ประเทศ ไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความ  พร้อมในการแข่งขัน  โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว  ได้แก่
          1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม  2550)  เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป  สินค้าอุตสาหกรรม  และบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้ สามารถแข่งขันได้
          2. มาตรการป้องกันผลกระทบ  ก่อน หน้านี้  กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น  พรบ.  มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard  Measure)  ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC  Blueprint  ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
          3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ตาม คำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2550)  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน



ขอขอบคุณข้อมูลจาก