วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษกว่ากัมพูชา



เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษติดอันดับ 42 ของโลก จากทั้งหมด 44 ประเทศ ทั้งนี้เลขาธิการสภาการศึกษา เร่งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศและประเทศบวกสาม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

อีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้ในการสื่อสารกันในภูมิภาคถือเป็นสิ่งสำคัญ ากการสำรวจของโรงเรียนสอนภาษาระดับโลก เอดูเคชันเฟิสต์ หรือ อีเอฟ (EF) ระบุว่า เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษติดอันดับ 42 ของโลก จากทั้งหมด 44 อันดับ รองจากกัมพูชาที่อยู่ในอันดับที่ 41 เวียดนามลำดับที่ 39 อินโดนีเซียลำดับที่ 34 และมาเลเซียอยู่ลำดับที่ 9 ผลการสำรวจนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าทักษะภาษาอังกฤษของเยาวชนไทยนั้นยังไม่สามารถสู้กับประเทศอื่นๆได้

เลขาธิการสภาการศึกษา ระบุว่า ประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และเป้าหมายในการเรียนภาษาต่างประเทศอย่างเป็นระบบ โดยผู้เรียนไม่ทราบว่าเรียนไปเพื่ออะไร ทำให้ต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วนและในวงการศึกษาไทยขณะนี้มีเวลาไม่มาก สำหรับการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นมีความสำคัญมาก

นอกจากนี้เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว การติดต่อในระบบงานราชการ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยการทำหนังสือราชการติดต่อนั้น ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย

และอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องเรียนรู้ได้อย่างน้อย 3 ภาษา นั่นคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน และที่เพิ่มมานั้นคือภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการติดต่อสื่อสารทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แต่ยังขาดยุทธศาสตร์ทางด้านการศึกษา ซึ่งเลขาธิการสภาการศึกษา ระบุว่า โดยการศึกษาต้องนำไปเสริมทางด้านเศรษฐกิจด้วย ซึ่งหลายหน่วยงานต้องเร่งปลุกระดมให้มีการเรียนรู้ภาษามากขึ้น เพื่อเป็นผลพลอยได้ให้ประเทศไทยมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นด้วย
by Wipa

คำกล่าวทักทาย กลุ่มประเทศอาเซียน


ในปี 2558 ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นเราคงมีโอกาสที่พบเจอเพื่อนต่างชาติกันมากขึ้น ดังนั้นวันนี้พี่แก๊ปป้าเลยนำเอาคำกล่าวทักทายของแต่ละประเทศมาให้ทำความรู้จักกัน


บรูไน ซาลามัต ดาตัง


อินโดนีเซีย ซาลามัต เซียง


มาเลเซีย ซาลามัต ดาตัง


ฟิลิปปินส์ กูมุสตา


สิงคโปร์ หนีห่าว


ไทย สวัสดี

กัมพูชา ซัวสเด

ลาว สะบายดี

พม่า มิงกาลาบา

เวียดนาม ซินจ่าว
* อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีประเทศ สมาชิกรวม 10 ประเทศ แบ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือบรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือเรียกว่า กลุ่ม CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)

8 อาชีพ ที่จะHot ที่สุดใน ASEAN


สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ห้องเรียนแห่งอนาคตทุกคน ถ้าจะพูดถึงเรื่องที่ Hotที่สุดตอนนี้ ก็คงไม่พ้น เรื่องของการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ และสำหรับประเทศไทยแล้ว เราได้เตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง? พร้อมหรือยังที่จะก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน
ในปี ค.ศ. 2015 ( พ.ศ.2558) ที่จะถึงนี้เราจะมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้น ซึ่งอาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association for Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือเสริมสร้างให้ภูมิภาคมีสันติภาพนามาซึ่ง เสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC) เพื่อส่งเสริมให้เป็นตลาดและฐานผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรี ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายให้เป็นปีที่มีลักษณะของการรวมกลุ่มประเทศเปลี่ยน เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทาให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงาน จะมีการถ่ายเทแรงงานด้านฝีมือเพื่อให้สามารถทางานในประเทศสมาชิกได้ง่ายขึ้นใน 8 สาขาอาชีพ คือ

1. วิศวกรรม
2. การสำรวจ
3. สถาปัตยกรรม
4. แพทย์
5. ทันตแพทย์
6. พยาบาล
7. บัญชี
8. การบริการ/การท่องเที่ยว

อาชีพอิสระที่ได้มาตรฐานได้รับการรับรองสามารถเคลื่อนย้ายไป ทางานในประเทศแถบอาเซียนได้ทันที ไม่มีการปิดกั้น อาชีพที่ได้ตกลงไว้คือ แพทย์ พยาบาล บัญชี สถาปนิก วิศวกร โดยในตอนแรกมีการตกลงว่าภาษาที่ใช้ในประชาคมคือภาษาอังกฤษ ซึ่งนักเรียนควรตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก จะต้องเรียนให้เก่งจริง เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ต้องใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะต้องรู้ภาษาอังกฤษ รู้ภาษาจีน รอบรู้ประวัติศาสตร์ และรู้เทคโนโลยีด้วย

ขณะนี้มีหลายประเทศที่รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าไทย ดังนั้นจะมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทางานในเมืองไทยอย่างแน่นอน ช่วง 5 ปีต่อจากนี้ไปอาจยังไม่มีผลกระทบทางลบมากนัก แต่นานไปก็น่าเป็นห่วงว่าคนไทยจะไม่มีงานทา หรือโดนแย่งงานจากแรงงานต่างชาติ
ใน 4-5 ปีข้างหน้า 10 ประเทศก็จะเหมือน 10 จังหวัด ในการเปิดเสรีทางเงินทุน การค้า การบริการ แต่ข้อเท็จจริงการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือจะต้องมีกฎกติกาตามเงื่อนไขที่ตกลง กัน ในประเด็น 7 สาขาวิชาชีพ ช่างสำรวจ สถาปนิก บัญชี แพทย์ หมอฟัน วิศวกร พยาบาล

เมื่อมีกฎแล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประเทศนั้น ๆ ด้วย เช่น วิศวกร จะไปทางานที่ประเทศสิงคโปร์ ก็ต้องผ่านการสอบของสิงคโปร์ด้วย กลุ่มแรงงานระดับล่างยังไม่ตกลงเพราะเป็นเรื่องใหญ่ แต่อีกกลุ่มวิชาชีพหนึ่งคือ บุคลากรวิชาชีพทางการท่องเที่ยว กาลังอยู่ในขั้นตอนการตกลง มี 9 ประเทศลงนามเรียบร้อยแล้ว แต่ไทยยังไม่ลงนามเพราะติดกรอบทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการทาข้อตกลงกับต่างประเทศต้องได้รับการยินยอมจากรัฐสภา แม้ยังไม่ลงนามก็มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว ถ้าไม่ลงนามก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้
อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรจะกล่าวถึงเรื่องของสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ (Competency) ในการบริการ การทำงานกับเพื่อนร่วมงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการปรับตัว ความเร็วในการทางาน ความยืดหยุ่นในการทางานเป็นหลัก แต่ต่อไปนี้จะทางานตามหน้าที่ คนมีสมรรถนะคือคนที่ทางานเร็ว เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาสม่ำเสมอ

พ่อแม่ผู้ปกครองควรสนใจในเรื่องนี้และปูแนวทางให้ลูกรัก อย่างถูกหลัก วางแผนชีวิตให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานมาอย่างรวดเร็วอย่ากระพริบตา อาจพลาดพลั้งสูญเสียงานสำคัญให้ชาวต่างชาติ และคนไทยเป็นได้เพียงมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆ ที่ไม่มีทักษะ ไม่มีสมรรถนะ และไม่มีประเทศไหนรับทางานเลยก็ได้ ถามตัวเองว่าลูกหลานเราจะเป็นอันดับที่เท่าไรในตลาดประชาคมอาเซียน

แพทย์และพยาบาลก็เป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นที่สนใจของอาเซียน แม้แต่ในประเทศไทยก็เป็นที่ต้องการมาก สถานประกอบการบางแห่งก็ขาดแคลน พยาบาลโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอาชีพหนึ่งที่ขาดแคลน เพราะตามกฏหมายสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีพยาบาลประจำโรงงาน เช่น กรณี ลูกจ้าง 200-999 คน ต้องจ้างพยาบบาลจำนวน 1 คนตลอด 8ชั่วโมง และเพิ่มทุก 1000 ขึ้น ต่อพยาบาล 1คน เป็นต้น

อัตราการรู้หนังสือของประเทศสมาชิกอาเซียน


สวัสดีครับน้องๆ วันนี้พี่แก๊ปมีข้อมูลที่น่่าสนใจมากๆ เกี่ยวกับอัตราการรู้หนังสือของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจากข้อมูลพบว่าประเทศไทยของเรามีอัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 94.1 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากพอสมควรเลยครับ ^^
ปัจจุบันการศึกษาและความเจริญด้านต่างๆ ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก การอ่านจึงมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนแนวคิดต่าง ๆ ความรู้ส่วนใหญ่ที่จะค้นคว้าได้ด้วยตนเอง มักจะออกมาในรูปของสิ่งพิมพ์ ซึ่งต้องอาศัยทักษะทางด้านการอ่านและการเขียน
หากประเทศใดที่มีคนรู้หนังสือมากก็ย่อมได้เปรียบ วันนี้จึงนำอัตราการรู้หนังสือของประเทศอาเซียนมาให้วิเคราะห์กัน
หมายเหตุ: ผลสำรวจนี้ สำรวจจากผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : Asean by MAC

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

HR ควรปรับตัวอย่างไร ให้พร้อมรับ AEC

ตอนนี้กระแส AEC กำลังมาแรง และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันในวงสนทนา รวมถึงวงการ HR ด้วย

เรื่อง AEC คล้าย ๆ กัน ที่ผมคิดว่าการเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ด้วยความไม่ประมาทนั้นเป็นเรื่องดี 

แต่ก็ไม่ควรตื่นตกใจกับสิ่งมาไม่ถึงจนกลายเป็น AEC phobia แล้วมองว่ามันจะเลวร้ายไปหมด

แน่นอนว่าทุกองค์กรคงต้องเตรียมตัวและเตรียมคนให้พร้อม แต่ก่อนที่จะเตรียมคนในฝ่ายอื่น ๆ HR ควรจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมเสียก่อน เราลองมาดูกันสิว่าคนที่ทำงานด้าน HR ควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างกับ AEC ที่กำลังจะมาถึงในอนาคตกันใกล้นี้

1.HR ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนคนอื่น เช่น

1.1.HR ต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ในเชิงธุรกิจ (Business Acumen) ให้มากขึ้น เพื่อจะได้คุยกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายอื่น ๆ รู้เรื่อง ไม่ใช่รู้แค่เรื่องรับคนเข้า-เอาคนออก หรือรู้เฉพาะแต่งานของ HR เพียงอย่างเดียว 

ดังนั้น HR ควรจะต้องมีความรู้ทางด้านธุรกิจด้วย

อันที่จริงแล้วคนที่ทำงาน HR ควรเรียนรู้หลักสูตรประเภท Mini MBA เพื่อให้รู้จักธุรกิจไว้บ้าง หรือถ้าเรียนต่อปริญญาโทด้าน MBA ก็จะเป็นประโยชน์ เพราะจะได้เข้าใจเรื่องของธุรกิจมากขึ้น

1.2.ต้อง update ความรู้ต่าง ๆ อยู่เสมอ มีคำคำหนึ่งบอกว่า ใครมีข้อมูลข่าวสารดี คนนั้นได้เปรียบ ดังนั้น HR จะต้องสนใจติดตามข่าวสารไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง, ต่างประเทศ, กีฬา, การเกษตร, เทคโนโลยี ฯลฯ เพื่อจะได้มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์นำเสนอเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หรือจะบอกว่า HR ยุค AEC นี้ต้องรู้ลึก รู้รอบ ก็ได้ครับ

2.เพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ดังนั้น HR ควรจะต้องสัมภาษณ์ผู้สมัครงานเป็นภาษาอังกฤษได้, มีการประชุมเป็นภาษาอังกฤษ, สามารถชี้แจงทำความเข้าใจกับพนักงานต่างชาติได้ ฯลฯ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องปกติในองค์กรข้ามชาติในเมืองไทย 

และในอนาคตมีแนวโน้มจะเป็นไปแบบที่ผมว่ามานี่แหละครับ ตอนนี้ผมเห็นหลายองค์กรที่เริ่มให้พนักงานไปทดสอบ TOEIC กันแล้วก็มีนะครับ

3.พร้อมที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เรื่องนี้อาจไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนที่ชอบเดินทางไปในที่ต่าง ๆ แต่จะเป็นปัญหาสำหรับคนที่มีภาระทางครอบครัว หรือคนที่ไม่ชอบการโยกย้าย ซึ่งก็อาจจะเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ โดยเฉพาะสาเหตุหลักจากข้อ 2 คือ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ก็เลยไม่อยากจะไปต่างประเทศหรือ HR อาจจะต้องไปสรรหาคัดเลือกพนักงานในประเทศนั้น ๆ (local staff) เพื่อทำงานยังบริษัทที่เราไปเปิดสาขาอยู่ 

ดังนั้น HR ควรมีความคล่องตัวในการแพ็กกระเป๋าไปทำงานต่างประเทศไว้ด้วยนะครับ 

ฝอยมาพอสมควรแล้ว ยังบอกไปได้แค่ 3 ข้อเอง คงต้องมีตอนที่ 2 แล้วละครับว่า HR ควรจะต้องเตรียมความพร้อมอะไรสำหรับ AEC บ้างในครั้งต่อไปครับ

โดย ธำรงศักด์ คงคาสวัสด์ http://tamrongsakk.blogspot.com