วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำประเทศต่างๆในอาเซียน





ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม



ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา



ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย



ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว




Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย




Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า



Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์



บัว เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม



Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์


ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

ความร่วมมือที่สำคัญ ของอาเซียน


ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน
อาเซียนเริ่มจัดการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting – AMEM) ครั้งแรกในปี 2525 โดยเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อรองรับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายด้านพลังงานในระดับภูมิภาคที่อาศัยจุดแข็งและศักยภาพ ของแต่ละประเทศในอาเซียนที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ ความร่วมมือด้านพลังงานที่สำคัญในอาเซียน ได้แก่
1. โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid ปี 2550 เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าใน อาเซียน ปัจจุบันมีโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ก่อสร้างเสร็จและ ดำเนินการแล้ว 3 โครงการ กำลังก่อสร้างอยู่ 3 โครงการ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาอีก 9 โครงการ โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 4 โครงการ
2. โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ปี 2545 เพื่อเป็นแนวทางในการก่อสร้างระบบเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมโยงกัน ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงส่งเสริมการค้าก๊าซธรรมชาติอย่างเสรีผ่านระบบเครือข่ายท่อก๊าซระหว่าง ประเทศสมาชิก ปัจจุบันอาเซียนมีการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติในอาเซียน 8 โครงการ รวมระยะทาง 2,300 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซนาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะ สนับสนุนโครงการท่อก๊าซในอาเซียน โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 5 โครงการ
3. การจัดทำASEAN Plan of Action for Energy Cooperation (APAEC) อาเซียนมี
แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานมาแล้วรวม 2 ฉบับ คือ APAEC ปี 2542-2547 และปี 2547-2552 มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงาน มีการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันไทยเป็นประธานยกร่าง APAEC ปี 2553-2558 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาที่ ยั่งยืนของอาเซียนสนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
4. ศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre of Energy) อาเซียนได้จัดตั้งศูนย์พลังงานอาเซียนในปี 2539 โดยยกฐานะ "ศูนย์ฝึกอบรม เพื่อการจัดการและวิจัยพลังงานอาเซียน-ประชาคมยุโรป (ASEAN-EU Energy Management Training and Research Centre)" ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2531 เป็นศูนย์พลังงานอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ รวบรวม ข้อมูล จัดฝึกอบรม ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานอาเซียนคนปัจจุบันคือ นาย Nguyen Manh Hung ชาวเวียดนาม
5. ความตกลงด้านพลังงานที่สำคัญ
ความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (ASEAN Petroleum Security Agreement: APSA) เป็นความตกลงฉบับปรับปรุงจากความตกลงฉบับเดิม ซึ่งได้ลงนามมาตั้งแต่ปี 2529 APSAเป็นกลไกในการแบ่งปันปิโตรเลียมในภาวะฉุกเฉินสำหรับน้ำมันดิบและหรือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเวลาหรือสถานการณ์ทั้งที่มีการขาดแคลนและมีอุปทานมาก เกินไป


ความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน
ความเป็นมา
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) ครั้งที่ 30 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2551 ณ ประเทศเวียดนาม ได้มีมติเห็นชอบแผนนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนและแผน กลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน ค.ศ. 2009-2013 (ASEAN Integrated Food Security (AIFS) Framework and Strategic Plan of Action on Food Security in the ASEAN Region (SPA-FS) 2009 – 2013) ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2552 ก็ได้ให้การรับรองเอกสารนี้เพื่อดำเนินการตามแผนงานต่อไป
สรุปสาระสำคัญของแผน
เป้าหมาย เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร
วัตถุประสงค์
 เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านอาหาร ลดการสูญเสียภายหลังการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเข้าถึงตลาด การค้าสินค้าเกษตรและ
ปัจจัยการผลิต ให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา และบรรเทาความขาดแคลนอาหารในกรณีฉุกเฉิน
ขอบเขต
 ครอบคลุมเฉพาะ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง น้ำตาล และมันสำปะหลัง
ระยะเวลา
 5 ปี (ค.ศ.2009-2013)
องค์ประกอบ กลยุทธ์และแผนงาน
องค์ประกอบ
กลยุทธ
แผนงาน
1. ความมั่นคงอาหารและการบรรเทากรณีฉุกเฉิน/ขาดแคลน1. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการด้านความมั่นคงอาหาร- สร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงอาหาร - พัฒนากลไกและความริเริ่มการสำรองอาหาร
2. การพัฒนาการค้าอย่างยั่งยืน2. ส่งเสริมตลาดและการค้าสินค้า- สนับสนุนการค้าอาหารอย่างยั่งยืน
3. บูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความมั่นคงอาหาร3. การบูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศ- ส่งเสริมให้โครงการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงด้านอาหารอาเซียน (AFSIS) เป็นกลไกในระยะยาว
4. นวัตกรรมด้านการเกษตร
4. ส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืน
5. กระตุ้นการลงทุนด้านอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
6. จำแนกและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหาร
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร
- การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ
- งานวิจัยและพัฒนา
- ความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การพัฒนาอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- แก้ไขปัญหาการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
- แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
กลไกการดำเนินงานและแหล่งเงินทุน
คณะทำงานรายสาขาภายใต้รัฐมนตรี อาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) และเป็นการร่วมลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน คู่เจรจา และองค์กรระหว่างประเทศ


โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ได้เรียกร้องให้อาเซียนมีความร่วมมือเพื่อที่จะดำเนินการเชื่อมโยงพลังงาน ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยการพัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Gird) และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline) พร้อมกับ ส่งเสริมความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ และพลังงานทดแทน โดยอาเซียนได้มอบหมายให้คณะมนตรีอาเซียนว่าด้วยปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) เป็นกลไกหลักในการดำเนินโครงการ
ASCOPE ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเกี่ยวกับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อาเซียน (Task Force on ASEAN Gas Pipeline) และได้จัดทำแผนแม่บทโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน โดยปรับปรุงจากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา และการใช้ก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน ปี 2539
ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 20 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 อาเซียนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อาเซียน Memorandum of Understanding (MoU) on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานอย่างกว้าง ๆ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการประสานความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการให้ สัมฤทธิ์ผล และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันอาเซียนมีการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติในระดับทวิภาคีรวม 8 โครงการ ระยะทางรวม 2,319 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซ นาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะสนับสนุนโครงการท่อ ก๊าซในอาเซีย
โครงการ
ระยะทาง (กม.)
หมายเหตุ
1.  โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว
Malaysia – Singapore
5
สร้างเสร็จในปี 2534
Yanada, Myanmar - Ratchaburi, Thailand
470
สร้างเสร็จในปี 2542
Yetagun, Myanmar - Ratchaburi, Thailand
340
สร้างเสร็จในปี 2543
W.Natuna, Indonesia – Singapore
660
สร้างเสร็จในปี 2544
W.Natuna, Indonesia – Duyong, Malaysia
100
สร้างเสร็จในปี 2544
S.Sumatera, Indonesia – Singapore
470
สร้างเสร็จในปี 2546
Malaysia – Thailand (JDA)
270
สร้างเสร็จในปี 2548
Malaysia – Singapore
4
สร้างเสร็จในปี 2549
2. โครงการใหม่ที่เสนอในแผนแม่บท
Duri, Indonesia – Melaka, Malaysia
200
W.Natuna, Indonesia – Duyong, Malaysia
100
E.Natuna, Indonesia – Erawan, Thailand
975
E.Natuna, Indonesia – Kerteh, Malaysia
480
E.Natuna, Indonesia – Singapore
720
E.Natuna, Indonesia – Sabah, Malaysia – Palawan – Luzon, Philippines
1540
Malaysia – Thailand (JDA-Block B)
140
Pauh, Malaysia – Arun, Sumatera, Indonesia
365


ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารอาเซียน
ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้าน อาหารอาเซียนได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งประเทศ ญี่ปุ่น จนทำให้เกิดบูรณาการของระบบข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงอาหารในระดับภูมิภาค
วัตถุประสงค์ของระบบข้อมูลสารสนเทศนี้ก่อ ตั้งขึ้นเพื่อทำให้ประเทศสมาชิกสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรในภูมิภาค อาเซียนซึ่งการจัดทำระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง สะดวกนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ถูกต้องครบถ้วน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและจัดทำ นโยบาย รวมทั้งติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางด้านอาหารในภูมิภาค อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร หรือการผลิตเกินความต้องการ อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างระบบเตือนภัย เช่นการเกิดโรคระบาด ภาวะตกต่ำของราคาสินค้า เป็นต้น
ประเทศไทยโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ได้จัดทำข้อมูลและ เป็นศูนย์กลางข้อมูลการเกษตรของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยแต่ละประเทศจะจัดส่ง ข้อมูลมายังฐานข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะทำการรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ผ่าน Website “afsis.oae.go.th” โดยข้อมูลประกอบด้วยการผลิต ราคา การนำเข้าและการส่งออกสินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลประชากร แรงงาน ข้อมูลด้านการผลิต เช่น เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตร เช่น ราคา บัญชีสมดุล รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับประชากร แรงงาน และ การใช้ที่ดิน เป็นต้น
จากความร่วมมือดังกล่าวทำให้ประเทศอาเซียน มีข้อมูลที่สำคัญยิ่งของภูมิภาคอาเซียน ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนซึ่งจะช่วยเร่งผลักดันให้ประเทศสมาชิกมีความสามารถใน การจัดทำข้อมูลรวมทั้งมีระบบเครือข่ายหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้ สามารถมีข้อมูลเตือนภัย(Early Warning Information) และพยากรณ์สินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Commodity Outlook Report) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการกำหนดนโยบายและการวางแผนทั้งด้านการผลิตและการ ตลาดให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และคาดว่า จากการดำเนินงานดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่การเป็นผู้นำและศูนย์กลางด้านข้อมูล การเกษตรของภูมิภาคอาเซียนต่อไป

โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีนโยบายร่วมกันที่จะ พัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของการจ่ายไฟฟ้าของภูมิภาคและส่งเสริมให้มีการซื้อ ขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวม ในการดำเนินการตามนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อาเซียนได้มอบหมายให้ผู้บริหารสูงสุดการไฟฟ้าของกลุ่มประเทศอาเซียน (Head of ASEAN Power Utilities/Authorities : HAPUA) มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลักดันให้เกิดโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน
ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ เมืองลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 ได้ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Interconnection Master Plan Study: AIMS) ที่ HAPUA ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อใช้ในการดำเนินงานให้เกิดโครงการเชื่อมโยงระบบ สายส่งไฟฟ้าต่าง ๆ ในอาเซียน
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 25 ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยเรื่อง โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2550 เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดนโยบายร่วมของภูมิภาคในการผลักดันให้การเชื่อมโยง ระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเกิดขึ้นเป็น รูปธรรม
HAPUA ตั้งเป้าว่าจะดำเนินการก่อสร้างโครงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าอาเซียนทั้ง 15 โครงการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
สถานะการดำเนินโครงการ
โครงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า
สถานะ
1. Peninsular Malaysia – Singapore
ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2528
2. Thailand – Peninsular Malaysia
ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2544
3. Thailand – Cambodia
ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2550
4. Thailand – Lao PDR
กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2552/ 2553
5. Vietnam – Cambodia
กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2553
6. Lao PDR – Cambodia
ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว
7. Sumatra – Peninsular Malaysia
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
8. Batam – Bintan – Singapore
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
9. Sarawak – West Kalimantan
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
10. Philippines – Sabah
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
11. Sarawak – Sabah – Brunei
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
12. Sarawak – Peninsular Malaysia
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
13. Thailand – Myanmar
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
14. Lao PDR – Vietnam
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
15. Sabah – East Kalimantan
เป็นโครงการเพิ่มเติม และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้


โครงการถนนอาเซียน
การประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งของอาเซียน (ASEAN Transport Minister Meeting-ATM) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2540 มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ให้มีการกำหนดโครงข่ายทางหลวงอาเซียน เพื่อรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงของประเทศสมาชิก ทั้งนี้เพื่อรองรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ขยายโอกาสและลู่ทางการค้า การไปมาหาสู่กันของประชาชนและการท่องเที่ยวโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง การประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งของอาเซียน ครั้งที่ 3 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 2-5 กันยายน 2540 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการทางหลวงอาเซียน และให้จัดตั้งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญด้านทางหลวงอาเซียนโดยมีขอบข่ายการดำเนิน งาน 4 ประการ ดังนี้
  1. จัดทำโครงข่ายทางหลวงอาเซียน
  2. จัดทำมาตรฐานทางหลวงอาเซียนให้เป็นแบบเดียวกัน ทั้งนี้ให้รวมถึงป้ายจราจร สัญญาณ ระบบหมายเลขทางหลวง เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือในการวางแผนและพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวง อาเซียน
  3. กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการขนส่งผ่านแดน รวมทั้ง กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการขนส่งผ่านแดน
  4. จัดทำแผนพัฒนาทางหลวงอาเซียนเพื่อแสวงหาการสนับสนุนด้าน เงินลงทุนจากองค์กรที่ ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา (Official Development Assistance-ODA) หรือภาคเอกชน หรือจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน  โครงข่ายทางหลวงอาเซียนที่กำหนดมีเป้าหมายที่จะเชื่อมโยงถนนในพื้นที่ซึ่งมี ศักยภาพสูงของประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าด้วยกัน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 23 สายทาง ระยะทาง 36,600 กิโลเมตร
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการทางหลวงอาเซียน กำหนดเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ( ปี พ.ศ. 2543) กำหนดโครงข่ายและเส้นทางทางหลวงอาเซียนให้แล้วเสร็จ
ระยะที่ 2 ( ปี พ.ศ. 2547)
 ทางหลวงที่กำหนด เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนจะได้รับการปรับปรุง พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องหมายจราจรบนเส้นทางเหล่านั้นให้แล้วเสร็จ มีการก่อสร้างเสริมถนนช่วงที่ขาดตอน และเปิดดำเนินการจุดผ่านแดนทั้งหมด
ระยะที่ 3 ( ปี พ.ศ. 2563)
 ทางหลวงที่กำหนด เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ จะได้รับการปรับปรุงเป็นถนนมาตรฐานชั้น 1 หรือชั้นพิเศษ แต่สำหรับเส้นทางที่มีปริมาณการจราจรต่ำและไม่เป็นโครงข่ายหลัก ยินยอมให้ก่อสร้างเป็นถนนมาตรฐานชั้น 2

โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ในปี 2538 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนได้ให้ความเห็นชอบโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง โดยลักษณะโครงการเป็นการเชื่อมโยงและปรับปรุงเส้นทางรถไฟที่มีอยู่แล้วของ ประเทศ 6 ประเทศที่ประกอบด้วย สิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-กัมพูชา -เวียดนาม-จีน โดยมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟหลัก จากสิงคโปร์- กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ-โฮจิ มินห์-ฮานอย-คุนหมิง ระยะทางรวม 5,382 ก.ม. ท้งนี้เพื่อเซื่อมการคมนาคมระหว่างอาเซียนกันเองและกับจีนทางตอนใต้ด้วย และจะเป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารอีกทางหนึ่งให้แก่ประเทศใน ภูมิภาค
โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง มีเส้นทางรถไฟช่วงที่เรียกว่า missing link ในส่วนของ 6 ประเทศรวมระยะทาง 431 ก.ม. โดยในส่วนของไทยมีเส้นทางรถไฟช่วงที่เรียกว่า missing link ระยะทาง 153 กม. ที่จะเชื่อมโยงกับพม่า (เริ่มจาก สถานีน้ำตก- บ้านแก่งปโลม-หมู่บ้านช้างภู่ทอง-ห้วยอู่ล่อง-บ้านโชคดีสุพรรณ-อำเภอ สังขละบุรี จนถึงด่านเจดีย์สามองค์)
โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง จำเป็นต้องใช้เงินทุนสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีบางประเทศเช่น จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น และองค์การระดับภูมิภาคเช่น ADB ให้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

ความร่วมมืออาเซียนด้าน SMEs
การประชุม ASEAN SME Agencies Working Group เป็นเวทีซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาขิกอาเซียนได้หารือกันเพื่อจัดทำ แผนการพัฒนา SMEs ในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม การประชุม ASEAN SME Agencies Working Group จะจัดให้มีขึ้น ครั้งต่อ ปี  โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ระหว่างผู้นำด้านนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน อาเซียน  เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านนโยบาย SMEs ภายในภูมิภาคอาเซียนและผลักดันโครงการพัฒนา SMEs ในระดับภูมิภาค
SMEs ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจรายย่อย เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจในอาเซียนเนื่องจาก SMEsก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดในทุกๆสาขา นอกจากนี้ SMEs ยังเป็นช่องทางให้สตรีและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกด้วย SMEs ประสบกับความท้าทายทั้งทางด้านการเงินและมิใช่การเงิน รวมถึงปัญหา การเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยี และตลาด นอกจากนี้ SMEs ยังขาดความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการและทักษะทางด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งการขาดข้อมูล การกำหนดมาตรฐานในด้านการดำเนินการต่างๆ และยังต้องยกระดับการดำเนินธุรกิจของตนให้ทันต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ขนาดใหญ่ในแง่ต่างๆ อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การ Outsourcing และการใช้เครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ
SMEs ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม เพื่อที่จะสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายในตลาดโลกได้ เนื่องจากในขณะนี้การดำเนินธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันสูง เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตลาดมีความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น และผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการสร้าง Cluster ให้แก่ SMEs การสร้างเครือข่าย inter-firm networks และ การเชื่อมโยง SMEs ในอาเซียนจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาคได้ ซึ่งภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก และภาคเอกชนในฐานะที่เป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องผนึกกำลังกันใน การสร้างและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
ในขณะนี้มีโครงการภายใต้กรอบนโยบายการพัฒนา SME ของอาเซียนจำนวนทั้งหมด 20 โครงการ โดยมีโครงการที่สำคัญดังนี้ การสร้างเครือข่ายบริษัทการค้า SMEs ในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดตั้งกองทุนพัฒนา SMEs และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการครบวงจรสำหรับ SMEs ในภูมิภาค

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 (The 14th ASEAN Summit) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2552 ประเทศอาเซียนได้มีมติเห็นชอบที่จะให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมการเดิน ทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (Intra-ASEAN Travel and Tourism) เพื่อให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค
แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวของ อาเซียน ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับเยาวชน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ของอาเซียน ระหว่าง ปี 2554-2558  
การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของอาเซียน และการสร้างมาตรการจูงใจให้นัก ท่องเที่ยวที่มีสัญชาติอาเซียนเดินทางในภูมิภาคมากขึ้น  การส่งเสริมการจัด กิจกรรมท่องเที่ยวทางเรือสำหรับเยาวชน  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว กับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดียและรัสเซีย โดยเน้นการกระตุ้นให้เกิดการท่อง เที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศเครือข่ายให้มากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากตลาดท่องเที่ยวอาเซียนและการสร้างจุดขายร่วม กับประเทศอาเซียนให้กับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยขณะนี้อาเซียนได้มีการจัดทำกรอบความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา (visa exemption) ให้กับนักท่องเที่ยวอาเซียนและกำลังเจรจาจัดทำความตกลง single visa ให้กับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่สาม
การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Tourism Connectivity Corridors) จะสอดคล้องกับนโยบายการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัดของประเทศไทยและสมาชิกอาเซียน โดยแต่ละประเทศอาเซียนจะจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อส่ง เสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (Intra-ASEAN Travel and Tourism) ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยก็ได้จัดทำโครงการ ASEAN Family Car Rally ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2552 ที่อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  และวันที่ 8-10 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวของอาเซียน
เนื่องจากการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ อาเซียนจึงสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวของเยาวชนโดยประกาศให้ปี 2552-2553 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเยาวชน (Youth Travellers’Years 200-2010) ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยก็ได้จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการเดิน ทางของเยาวชน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการยุวทูตท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Youth Ambassadors) ระหว่างวันที่ 15-24 มกราคม 2552 และโครงการฟุตบอลเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth Football Cup) ในเดือนมิถุนายน 2552
อาเซียนได้ร่วมหารือกันในการหาแนวทางการกระตุ้นธุรกิจการท่องเที่ยวที่กำลัง ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจของโลกอยู่ในขณะนี้ โดยพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยวและจัดให้มีการนำเที่ยวในรูปแบบใหม่เพื่อ ดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ยังได้มีการหารือกันถึงเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว อาเซียน พ.ศ. 2554-2558  (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015) การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดตั้ง ASEAN Tourism Investment Corridor และวางแผนร่วมกันในการคัดเลือกโรงแรมในประเทศอาเซียนให้ใช้ชื่อ ASEAN Green Hotel การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมทั้งจัดฝึกอบรมภาษาให้กับมัคคุเทศก์ของ สมาชิกอาเซียนและจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการตลาดให้กับเจ้าหน้าที่ ด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน

กองอาเซียน
3 เมษายน 2555


การวางรากฐานของอาเซียนด้วย สามเสาหลัก


ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของ ประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น
ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่นโรคระบาด การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติเช่น คลื่นยักษ์สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้
เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558 โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ

  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้อ อาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ในชั้นนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคม อาเซียนใน 3 เสาหลักนี้ โดยในแต่ละประชาคมจะมีกลไกที่เรียกว่า “คณะมนตรีประชาคม” ซึ่งเป็นกลไกระดับรัฐมนตรีที่มีหน้าที่กำกับดูแลและขับเคลื่อนดำเนินงานตาม แผนงานดังกล่าวต่อไป


ทีมา สบย.4

การดำรงตำแหน่งประธาน ไทย ของไทย

การดำรงตำแหน่งประธาน ไทย ของไทย



1. การเป็นประธานอาเซียนของไทย (กรกฎาคม 2551 - ธันวาคม 2552)
  • ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2551 โดยการดำรงตำแหน่งของไทยอยู่ในช่วงที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน และกฎบัตรอาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญที่จะวางกฎกติกาที่เป็นรากฐาน สำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552

  • ไทยได้กำหนดเป้าหมายหลักในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยไว้ 3 ประการ (3 ‘R’s) คือ
  • (1) การปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน (Realising Commitments under ASEAN Charter) คือ การจัดตั้งกลไกต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในกฎบัตร โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชน การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา
    (2) การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalising People-centred ASEAN Community) โดยส่งเสริมการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างประชาคม อาเซียน
    (3) การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing Human Development and Security for all) เพื่อให้ความร่วมมือของอาเซียนช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชนและยกระดับชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชน
  • ไทยได้กำหนดหัวข้อหลักสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. –1 มี.ค. 2552 ที่ อ.ชะอำ ว่า “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน” (ASEAN Charter for ASEAN Peoples) เพื่อย้ำเจตนารมณ์ของไทยที่จะเสริมสร้างการดำเนินงานของอาเซียนภายหลังการมี ผลบังคับใช้ของกฎบัตรให้ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

  • ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาชะอำว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ซึ่งจะผนวกแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมือง-ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

  • ไทยได้ริเริ่มให้มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทน สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซียน ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้าง ประชาคมอาเซียน
  • ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 17 - 23 ก.ค. 52 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ (1) รับรองกรอบขอบเขตอกนาจหน้าที่ (TOR) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ซึ่งจะปูทางไปสู่การประกาศจัดตั้งองค์กรดังกล่าวระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 15 ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ (2) รับรองร่างความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันอาเซียน (Draft Agreement on Privileges and Immunity of ASEAN) ซึ่งจะให้สถานะนิติบุคคลกับอาเซียนเพื่อให้มีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ระหว่างการประชุม สุดยอดฯ ครั้งที่ 15

  • ระหว่างการประชุมฯ สหรัฐอเมริกาได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาว่าไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า อาเซียนยังมีความสำคัญในสายตาของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งเป็นมหาอำนาจ ซึ่งต้องการให้อาเซียนมีบทบาทสนับสนุนการเสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพ

  • นอกจากนี้ ไทยยังผลักดันความร่วมมือของอาเซียนเพื่อให้ตอบสนองต่อปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 เพื่อประสานแนวทางในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ (H1N1) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552

2. การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
  • ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องที่ อ.ชะอำ อ.หัวหิน ระหว่างวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552

  • หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 คือ การกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เคยให้แนวทางในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนว่า อาเซียนควรมุ่งเน้นการสร้างประชาคมใน 3 ลักษณะ คือ
    (1) ประชาคมที่เน้นการปฏิบัติ กล่าวคือ การดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงต่าง ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์และความ ท้าทายต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
    (2) ประชาคมที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและความเชื่อมโยงในด้านจิตใจ โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างกันและเครือข่ายโทรคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน บนพื้นฐานของรากฐานทางอารยธรรมร่วมกัน
    (3) ประชาคมที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยประชาชนจะสามารถมีส่วนร่วมและสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการเป็น ประชาคม
  • เพื่อให้เป้าหมายของการเป็น ประชาคมสามารถสำเร็จลุล่วงได้ภายในปี 2558 การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้ง 15 นี้ จะให้ความสำคัญกับการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการบริหารจัดการภัยธรรมชาติ และผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก

  • เอกสารสำคัญที่จะมีการลงนามหรือรับรองในระหว่างการประชุมสุดยอดฯ ได้แก่
    (1) ปฏิญญาก่อตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (2) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา
    (3) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของอาเซียน
    (5) แถลงการณ์ของการประชุมอาเซียน+3 ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และ
    (6) แถลงการณ์ของที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ

3. ประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ
  • โดยที่การประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ จะเป็นการประชุมวาระสำคัญครั้งสุดท้ายที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงการดำรง ตำแหน่งประธานอาเซียน ไทยจึงมีเจตนาแน่วแน่ที่จะผลักดันประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนเพื่อ ให้อาเซียนเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนใน ภูมิภาค ทำให้ในอนาคตคนไทยจะได้รับประโยชน์โดยตรง โดยเฉพาะคนพิการ เด็ก และสตรี จะได้รับการดูแลและสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง นอกจากนี้ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยแก้ไขปัญหา แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยในปัจจุบันด้วย

  • การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา ของอาเซียนจะมีส่วนโดยตรงต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยและช่วยพัฒนาศักยภาพ ของเด็กและเยาวชนไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่าง ๆ

  • ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติภาย ใต้กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก จะช่วยให้ประเทศในภูมิภาค รวมทั้งไทยสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศคู่เจรจา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีระบบการแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย หรือไฟป่า คนไทยก็จะได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

  • ความร่วมมือด้านอาหารและพลังงานในกรอบ อาเซียน+3 จะช่วยสร้างความมั่นใจว่า คนไทยจะมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียงในราคาที่ยุติธรรม ในขณะที่พี่น้องเกษตรกรก็จะสามารถจำหน่ายผลผลิตการเกษตรโดยได้รับผลตอบแทน ที่เป็นธรรม โดยเฉพาะการจัดตั้งคลังสำรองข้าวในกรณีฉุกเฉินที่ไทยผลักดันให้จัดตั้งใน ประเทศไทยจะทำให้ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกได้รับ ประโยชน์โดยตรง ทั้งจากการจำหน่ายข้าวเพื่อจัดเก็บในคลังสำรองข้าว และการติดตามตรวจสอบความเคลื่อนไหวของปริมาณผลผลิตข้าวและความต้องการข้าว อย่างเป็นระบบภายใต้เครือข่ายข้อมูลของคลังสำรองข้าวดังกล่าวด้วย

  • การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเงิน ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ภายใต้ข้อริเริ่มเชียงใหม่ จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังในภูมิภาค โดยเฉพาะการจัดตั้งหน่วยติดตามตรวจสอบสถานการณ์ทางการเงินของประเทศใน ภูมิภาค จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจว่า ประเทศในภูมิภาคจะมีการดำเนินมาตรการทางการเงินและการคลังที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการส่งแสริมการค้า การลงทุน และเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  • หากประเทศไทยสามารถจัดการประชุมสุดยอดฯ ในครั้งนี้ได้ด้วยความเรียบร้อย จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่นานาประเทศมีต่อประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงในด้านส่งเสริมการค้า การลงทุน รวมทั้งการท่องเที่ยวของไทยในวงกว้าง


ที่มา สบย.4