วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การดำรงตำแหน่งประธาน ไทย ของไทย

การดำรงตำแหน่งประธาน ไทย ของไทย



1. การเป็นประธานอาเซียนของไทย (กรกฎาคม 2551 - ธันวาคม 2552)
  • ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2551 โดยการดำรงตำแหน่งของไทยอยู่ในช่วงที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน และกฎบัตรอาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญที่จะวางกฎกติกาที่เป็นรากฐาน สำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552

  • ไทยได้กำหนดเป้าหมายหลักในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยไว้ 3 ประการ (3 ‘R’s) คือ
  • (1) การปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน (Realising Commitments under ASEAN Charter) คือ การจัดตั้งกลไกต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในกฎบัตร โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชน การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา
    (2) การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalising People-centred ASEAN Community) โดยส่งเสริมการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างประชาคม อาเซียน
    (3) การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing Human Development and Security for all) เพื่อให้ความร่วมมือของอาเซียนช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชนและยกระดับชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชน
  • ไทยได้กำหนดหัวข้อหลักสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. –1 มี.ค. 2552 ที่ อ.ชะอำ ว่า “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน” (ASEAN Charter for ASEAN Peoples) เพื่อย้ำเจตนารมณ์ของไทยที่จะเสริมสร้างการดำเนินงานของอาเซียนภายหลังการมี ผลบังคับใช้ของกฎบัตรให้ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

  • ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาชะอำว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ซึ่งจะผนวกแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมือง-ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

  • ไทยได้ริเริ่มให้มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทน สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซียน ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้าง ประชาคมอาเซียน
  • ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 17 - 23 ก.ค. 52 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ (1) รับรองกรอบขอบเขตอกนาจหน้าที่ (TOR) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ซึ่งจะปูทางไปสู่การประกาศจัดตั้งองค์กรดังกล่าวระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 15 ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ (2) รับรองร่างความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันอาเซียน (Draft Agreement on Privileges and Immunity of ASEAN) ซึ่งจะให้สถานะนิติบุคคลกับอาเซียนเพื่อให้มีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ระหว่างการประชุม สุดยอดฯ ครั้งที่ 15

  • ระหว่างการประชุมฯ สหรัฐอเมริกาได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาว่าไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า อาเซียนยังมีความสำคัญในสายตาของนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศซึ่งเป็นมหาอำนาจ ซึ่งต้องการให้อาเซียนมีบทบาทสนับสนุนการเสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพ

  • นอกจากนี้ ไทยยังผลักดันความร่วมมือของอาเซียนเพื่อให้ตอบสนองต่อปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 เพื่อประสานแนวทางในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ (H1N1) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552

2. การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
  • ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องที่ อ.ชะอำ อ.หัวหิน ระหว่างวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552

  • หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 คือ การกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เคยให้แนวทางในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ อาเซียนว่า อาเซียนควรมุ่งเน้นการสร้างประชาคมใน 3 ลักษณะ คือ
    (1) ประชาคมที่เน้นการปฏิบัติ กล่าวคือ การดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงต่าง ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์และความ ท้าทายต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
    (2) ประชาคมที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและความเชื่อมโยงในด้านจิตใจ โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างกันและเครือข่ายโทรคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน บนพื้นฐานของรากฐานทางอารยธรรมร่วมกัน
    (3) ประชาคมที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยประชาชนจะสามารถมีส่วนร่วมและสามารถได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการเป็น ประชาคม
  • เพื่อให้เป้าหมายของการเป็น ประชาคมสามารถสำเร็จลุล่วงได้ภายในปี 2558 การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้ง 15 นี้ จะให้ความสำคัญกับการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการบริหารจัดการภัยธรรมชาติ และผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก

  • เอกสารสำคัญที่จะมีการลงนามหรือรับรองในระหว่างการประชุมสุดยอดฯ ได้แก่
    (1) ปฏิญญาก่อตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (2) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา
    (3) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของอาเซียน
    (5) แถลงการณ์ของการประชุมอาเซียน+3 ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และ
    (6) แถลงการณ์ของที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ

3. ประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ
  • โดยที่การประชุมสุดยอดฯ ครั้งนี้ จะเป็นการประชุมวาระสำคัญครั้งสุดท้ายที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงการดำรง ตำแหน่งประธานอาเซียน ไทยจึงมีเจตนาแน่วแน่ที่จะผลักดันประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนเพื่อ ให้อาเซียนเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนใน ภูมิภาค ทำให้ในอนาคตคนไทยจะได้รับประโยชน์โดยตรง โดยเฉพาะคนพิการ เด็ก และสตรี จะได้รับการดูแลและสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง นอกจากนี้ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยแก้ไขปัญหา แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยในปัจจุบันด้วย

  • การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา ของอาเซียนจะมีส่วนโดยตรงต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยและช่วยพัฒนาศักยภาพ ของเด็กและเยาวชนไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่าง ๆ

  • ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติภาย ใต้กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก จะช่วยให้ประเทศในภูมิภาค รวมทั้งไทยสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศคู่เจรจา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีระบบการแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย หรือไฟป่า คนไทยก็จะได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

  • ความร่วมมือด้านอาหารและพลังงานในกรอบ อาเซียน+3 จะช่วยสร้างความมั่นใจว่า คนไทยจะมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียงในราคาที่ยุติธรรม ในขณะที่พี่น้องเกษตรกรก็จะสามารถจำหน่ายผลผลิตการเกษตรโดยได้รับผลตอบแทน ที่เป็นธรรม โดยเฉพาะการจัดตั้งคลังสำรองข้าวในกรณีฉุกเฉินที่ไทยผลักดันให้จัดตั้งใน ประเทศไทยจะทำให้ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกได้รับ ประโยชน์โดยตรง ทั้งจากการจำหน่ายข้าวเพื่อจัดเก็บในคลังสำรองข้าว และการติดตามตรวจสอบความเคลื่อนไหวของปริมาณผลผลิตข้าวและความต้องการข้าว อย่างเป็นระบบภายใต้เครือข่ายข้อมูลของคลังสำรองข้าวดังกล่าวด้วย

  • การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเงิน ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในกรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ภายใต้ข้อริเริ่มเชียงใหม่ จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังในภูมิภาค โดยเฉพาะการจัดตั้งหน่วยติดตามตรวจสอบสถานการณ์ทางการเงินของประเทศใน ภูมิภาค จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจว่า ประเทศในภูมิภาคจะมีการดำเนินมาตรการทางการเงินและการคลังที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการส่งแสริมการค้า การลงทุน และเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  • หากประเทศไทยสามารถจัดการประชุมสุดยอดฯ ในครั้งนี้ได้ด้วยความเรียบร้อย จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่นานาประเทศมีต่อประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงในด้านส่งเสริมการค้า การลงทุน รวมทั้งการท่องเที่ยวของไทยในวงกว้าง


ที่มา สบย.4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น